วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อยากได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นทำอย่างไรดี

งาน เสริมทำที่บ้าน, หางานเสริม รับมาทำที่บ้าน งานพิเศษ เสาร์อาทิตย์ ทำงานหลังเลิกงาน หลังเลิกเรียน ,อาชีพเสริม ,รายได้เสริม ,งานเสริม part time ,งานเสริม อาชีพ เสริม หลัง เลิก งาน รายได้เสริม  รายได้เสริมหลังเลิกงาน  อยากได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นทำอย่างไรดี    คำถามสุดฮิตเวลาที่ไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องอัตราผลตอบแทน คืออยากได้เงินเดือนขึ้นมากกว่านี้ทำอย่างไรดี ซึ่งเป็นคำถามที่ส่วนตัวจริง ๆ แต่ก็เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพียงแต่น้อยคนที่กล้าถาม เอาเป็นว่าผมพอมีแนวทางมาแบ่งปันความรู้ ดังนี้
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex
ขั้นตอนการสมัค Exness


    คำถามสุดฮิตเวลาที่ไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องอัตราผลตอบแทน คืออยากได้เงินเดือนขึ้นมากกว่านี้ทำอย่างไรดี ซึ่งเป็นคำถามที่ส่วนตัวจริง ๆ แต่ก็เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพียงแต่น้อยคนที่กล้าถาม เอาเป็นว่าผมพอมีแนวทางมาแบ่งปันความรู้ ดังนี้
  อย่างแรกเลยต้องเริ่มจากการ เตรียมตัวและการเก็บข้อมูลก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1.ถามตนเองว่าทำไมถึงอยากได้เงินเดือนขึ้น ณ ตอนนี้-ตอบ คำถามนี้ให้ดี บางครั้งอาจจะเป็นแค่ความรู้สึกชั่ววูบที่อยากได้เงินเดือนขึ้น เพราะรู้สึกว่าตนเองทำงานหนักเกินรายได้ (ซึ่งอาจจะเป็นการทำงานหนักชั่วคราว) หรือเพราะว่าเพิ่งไปรู้เงินเดือนของเพื่อนมาไม่ว่าจากในหรือนอกองค์กรก็ตาม แล้วทำให้รู้สึกว่าองค์กรจ่ายเงินเดือนไม่แฟร์
ก่อน ที่จะทำอะไรลงไปลองคิดถึงสวัสดิการอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต เงินใช้ในยามเกษียณ หุ้นบริษัทในส่วนของพนักงาน หรือแม้แต่สวัสดิการการลาหยุดต่าง ๆ ลองคำนวณสิ่งเหล่านี้ออกมาคุณอาจพบว่าแม้เงินเดือนของคุณอาจจะเทียบไม่ได้ กับเพื่อน ๆ แต่สวัสดิการของคุณมากกว่ากันหลายขุมก็เป็นได้
2.มองดูสถานการณ์ในภาพรวม-ดู สถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือผลประกอบการขององค์กร ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง หรือผลประกอบการขององค์กรไม่ดี กำลังอยู่ในช่วงกระเสือกกระสนเพื่อความอยู่รอด มีการปลดพนักงาน ออก แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ คุณไม่ควรที่จะเข้าไปขอขึ้นเงินเดือนเด็ดขาดแค่เขาไม่เอาคุณออกก็โชคดีมาก แล้ว 
3.ประเมินผลการทำงานและประสิทธิภาพในการทำงานของตนเองอย่างซื่อสัตย์-ลอง เปรียบเทียบหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ และผลตอบแทนที่ได้รับกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ทั้งในและนอกองค์กร หลายคนมักมองที่ตัวเงินเพียงอย่างเดียวโดยไม่มองถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของ เราและเพื่อนที่แตกต่างกัน
  ซึ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละอย่างก็ใช้ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ที่สำคัญคุณทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีหรือยัง แน่นอนว่านอกจากประสิทธิผลแล้วยังมีในเรื่องของประสิทธิภาพที่ต้องนำมา เปรียบเทียบด้วย
       นอก จากนี้ ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่สร้างความแตกต่างระหว่างคุณกับเพื่อน ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความยากง่ายของงาน การทำงานเป็นทีม หรือแม้แต่เรื่องของการอาสาสมัครเข้าไปทำงานอื่น ๆ ขององค์กร เป็นต้น
4.บริหารภาพลักษณ์และประวัติของตนเอง (profile)-ถ้า เป็นไปได้จงทำตัวให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปทั้งภายในและภายนอกองค์กร ไม่ใช่แค่หัวหน้า และทีมงานของคุณเท่านั้นที่รู้จักคุณ การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์หรือ networking เป็นเรื่องสำคัญ พยายามหาโอกาสในการสร้างคุณค่าของตัวคุณให้องค์กรได้เห็น และที่สำคัญต้องทำให้องค์กรเห็นถึงสิ่งดี ๆ ที่คุณทำให้กับองค์กรด้วย
  เมื่อ คุณเตรียมตัวและเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปฏิบัติการเพื่อการขึ้นเงินเดือน การปฏิบัติการนี้ก็มี 4 ขั้นตอนด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 องค์กรประกอบหลัก ๆ คือ
1.หาจังหวะเหมาะ ๆ-จังหวะ ที่ดีที่สุดในการเข้าหาหัวหน้าคือหลังจากที่ทีมงานของคุณเพิ่งทำงานอะไร บางอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง หรือตัวคุณเองทำโครงการบางอย่างได้ประสบความสำเร็จ มันคงไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่ถ้าคุณจะเข้าไปพูดคุยกับหัวหน้าในขณะที่เขากำลัง ยุ่ง หรือทีมงานกำลังประสบปัญหาอยู่
2.วางแผนให้รอบคอบก่อนเข้าไปคุย-ถ้าคุณกำลังจะเข้าไปคุยกับหัวหน้าเพื่อขอเงินเดือนขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือมีตัวเลขที่ต้องการอยู่ในใจก่อน จากนั้นหาเหตุผลที่ดีมาสนับสนุนการขึ้นเงินเดือนของคุณ เช่น ตัวเลขเปรียบเทียบเงินที่จ่ายให้กับคนที่มีหน้าที่การทำงาน และความรับผิดชอบเหมือนคุณ โดยเปรียบเทียบทั้งในและนอกองค์กร นอกจากนี้เหตุผลสนับสนุนอื่น ๆ ยังมีในเรื่องของงานต่าง ๆ ที่คุณได้ทำแล้วประสบความสำเร็จอย่างมาก หรือเรื่องของคำชมเชยที่ได้รับจากลูกค้าหรือบุคคลอื่น ๆ แน่นอนว่าการวางแผนสนับสนุนที่ดีจะช่วยให้คุณคุยกับหัวหน้าได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันหัวหน้าก็จะสามารถชงเรื่องต่อไปได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
3.พูดอย่างชัดเจนและตรงประเด็น-ระหว่าง การพูดคุยกับหัวหน้าต้องชัดเจนในเป้าหมายและพูดให้ตรงประเด็น อย่าเอาเรื่องอื่น ๆ มาพูดคุยหลายประเด็นในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้หัวหน้าหลงประเด็นหรือลืมประเด็นนี้ของคุณก็เป็นได้ พยายามพูดให้เป็นไปในแง่บวก รวมถึงการบอกกล่าวถึงว่าคุณชอบงานที่ทำอยู่มากแค่ไหน
4.เตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาต่อรอง-จง เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเจรจาต่อรอง เพราะบางทีหัวหน้าอาจจะมีข้อเสนออื่น ๆ มาทดแทนการขอขึ้นเงินเดือนของคุณ เช่น โบนัส หุ้นขององค์กรสำหรับพนักงาน วันลาพักที่มากขึ้น หรือการผูกโยงการขึ้นเงินเดือนกับผลการทำงานหรือผลประกอบการขององค์กร หรืออาจจะมีการต่อรองในรูปแบบอื่น ๆ ที่เราอาจจะคาดไม่ถึงก็เป็นได้
   อย่างไรก็ดี คุณต้องเข้าใจว่าหัวหน้าไม่สามารถอนุมัติการขึ้นเงินของคุณได้ในทันที เพราะการขึ้นเงินเดือนพนักงานปกติต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้กับหัว หน้าของคุณ ถ้าเป็นไปได้เขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกำหนดระยะเวลาการพิจารณาและ การตอบกลับให้ชัดเจน
แน่นอนว่าแม้คุณทำทุกอย่างแล้วตาม ขั้นตอนที่แนะนำ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการขึ้นเงินเดือนตามที่ต้องการเสมอไป ดังนั้นถ้าไม่ได้จงค้นหาเหตุผลเพราะอาจจะมีเหตุมาจากนโยบายขององค์กร กระบอกเงินเดือนที่ถึงขีดสุดของระดับการทำงานของคุณ หรือเพราะผลการทำงานของคุณเอง ซึ่งถ้าคุณยังคงยืนยันในการต้องการขอขึ้นเงินเดือนอยู่ อาจต้องดูว่าคุณจำเป็นต้องทำอะไรอีกบ้างเพื่อทำให้สถานการณ์เป็นใจให้กับคุณ เช่น รับผิดชอบงานที่มากขึ้น หรือการทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ (KPI) สูงขึ้น
แต่ถ้าเหตุผลของการปฏิเสธเป็นสิ่งที่เหนือการควบคุม คุณอาจจำเป็นต้องรอให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือโอกาสที่เหมาะสม ต่อไป อย่างไรก็ดีในระหว่างที่รอต้องทำใจให้เย็น ๆ ไว้ มองโลกในแง่บวก ทำงานให้ดีที่สุด บริหารภาพลักษณ์และประวัติของคุณให้เฉิดฉายมากขึ้น
ถ้าทำทุกอย่างแล้วยังไม่สำเร็จอีก อาจต้องพิจารณาเรื่องของการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของคุณ ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนงานก็เป็นได้

บทความโดย : อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา 
ที่มา : คอลัมภ์ ถามมา-ตอบไปสไตล์คอนซัลต์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทความที่น่าสนใจ

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เเละ การหาจังหวะเข้าทำกำไร
รูปแบบของกราฟ การเคลื่อนไหวของกราฟราคารูปร่างแปลกๆ ที่น่าสนใจครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น